ก่อนเลือกซื้อประกันรถยนต์ เรา ควรมาทำความเข้าใจถึงความคุ้มครองของประกันแต่ละประเภทก่อนว่าแตกต่างกัน อย่างไร เริ่มจากกรมธรรม์ประเภทที่ 1 ที่ให้ความคุ้มครองมากที่สุด จะคุ้มครองความเสียหายของผู้โดยสารในรถ ความเสียหายต่อรถเอง เช่นเวลาที่เราขับรถไปครูดฟุตบาทจนเป็นรอย และรับผิดชอบเมื่อเกิดการสูญหายหรือไฟไหม้ รวมทั้งความเสียหายต่อบุคคลอื่น นอกจากนี้ผู้ที่ซื้อความคุ้มครองเพิ่ม อาจได้รับสิทธิ์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงการประกันตัวผู้ขับขี่กรณีอาญาเพิ่มด้วย ส่วนกรมธรรมน์ประเภทที่ 2 จะคุ้มครองคล้ายแบบแรก เว้นเฉพาะความคุ้มครองต่อความเสียหายของรถเราเอง ด้านกรมธรรมน์ประเภทที่ 3 จะให้ความคุ้มครองเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก ประเภทที่ 4 ให้ความคุ้มครองเฉพาะทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่รวมด้านร่างกาย และประเภทที่ 5 จะเป็นประเภทที่เพิ่มขึ้นจากประเภทที่ 2 และ 3 นิยมเรียกว่าแบบ 2พลัส และ 3พลัส จะรับผิดชอบคล้ายกันคือต่อร่างกายของผู้โดยสารในรถ ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายต่อรถแต่ต้องแจ้งคู่กรณีได้เท่านั้น โดยประเภท 2พลัสจะเพิ่มความรับผิดชอบเมื่อรถสูญหายหรือไฟไหม้ไว้ด้วย
 
          ผู้ซื้อประกันหลายคนคงเคยเจอเหตุการณ์ประกันมาช้า หรือเวลาเจรจาค่าซ่อมแล้วเกิดปัญหาเล็กๆน้อยๆ ให้ได้หนักใจอยู่เรื่อยๆ เพื่อยุติปัญหาเหล่านั้น สิ่งที่เราควรคำนึงในการเลือกซื้อประกันรถยนต์ในแต่ละครั้งจึงเป็นเรื่องของ การให้บริการที่คาดว่าจะได้รับจากบริษัทประกัน โดยเราต้องรู้จักศึกษาพิจารณาและเปรียบเทียบข้อมูลรายละเอียดด้านการให้ บริการของบริษัทประกันแต่ละแห่งอย่างถี่ถ้วน ตรวจสอบเครื่องหมายประกันคุณภาพ ISO ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัท รวมไปถึงหาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ใช้บริการคนอื่นๆ ไม่ว่าจะจากการถามไถ่คนรอบข้างหรือลองค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ มากมาย ก็ล้วนสามารถช่วยให้การตัดสินใจของเราดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้หากท่านใดมีรถยนต์อยู่หลายคันหรือมีญาติพี่น้องที่มีรถยนต์ด้วย จะลองเลือกทำประกันในบริษัทเดียวกันเพื่อการต่อรองแบบทำประกันยกล็อต ก็อาจทำให้เราได้รับข้อเสนอพิเศษจากบริษัทประกันภัยรถยนต์และยิ่งเพิ่มความ คุ้มค่าให้กับท่านเจ้าของรถได้มากขึ้นไปด้วย
 
             สมัยนี้มีช่องทางการจัดจำหน่ายประกันที่ให้บริการแก่เจ้าของรถยนต์อยู่มาก มาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อโดยตรง ซื้อผ่านธนาคาร ซื้อผ่านตัวแทนนายหน้า หรือแม้แต่ซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต การเลือกช่องทางเหล่านี้นอกจากจะขึ้นอยู่กับความสะดวกและพึงพอใจของเราเอง แต่ละช่องทางก็มีความแตกต่างที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อประโยชน์ที่เราจะได้รับ สูงสุดด้วยเช่นกัน อย่างในเรื่องราคาค่าเบี้ยประกันซึ่งแต่ละช่องทางอาจไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นบริษัทประกันรถยนต์ แห่ง เดียวกันก็ตาม โดยบางช่องทางอาจมีส่วนลดหรือโปรโมชั่นที่เพิ่มให้พิเศษก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องส่วนลดการค้าต่างๆ ที่บางบริษัทเพิ่มเข้ามาเพื่อการแข่งขันในตลาดประกันภัยที่มีขนาดใหญ่ บางบริษัทอาจแถมพรบ. บัตรกำนัลเติมน้ำมัน หรือโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งบางครั้งเจ้าของรถเองต้องเข้าไปเจรจาต่อรองเองด้วย อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมให้ความสนใจถึงความน่าเชื่อถือของช่องทางการจัด จำหน่าย อย่างการโทรมาขาย หรือค้นเจอจากทางอินเทอร์เน็ต ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด รวมทั้งในขั้นการชำระค่าประกันก็ควรชำระผ่านบัญชีของบริษัทประกันเองและเก็บ หลักฐานไว้เพื่อความปลอดภัยด้วย
 
              ขั้นตอนของการเคลมประกันก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรให้ความใส่ใจเมื่อต้อง เลือกซื้อประกันรถยนต์ ถึงแม้จะไม่มีใครอยากให้รถคันรักของตัวเองไปชนใครหรือถูกใครชนก็ตาม บริษัทประกันแต่ละแห่งมักจะให้เลือกระหว่างการเคลมแบบซ่อมห้างหรือที่หมาย ความว่าซ่อมในศูนย์ กับซ่อมอู่ที่บริษัทประกันจะเป็นผู้กำหนดมาให้ ซึ่งการเคลมทั้งสองแบบต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป อย่างแรกคือเรื่องของเบี้ยประกัน ซ่อมห้างจะมีราคาแพงกว่าซ่อมอู่ถึง 10-30% ขณะที่เรื่องของอะไหล่ หากซ่อมห้างเราจะแน่ใจได้มากกว่าว่าได้อะไหล่แท้ เปลี่ยนง่ายและเคลมง่าย ส่วนถ้าซ่อมอู่อาจจะมีการเสนอเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้น และคุมราคาซ่อม อีกทั้งเจ้าของรถที่นำรถไปซ่อมก็ควรตรวจสอบอู่ที่ใช้บริการด้วยว่าน่าเชื่อ ถือหรือไม่และมีมาตรฐานเพียงใด เพราะคุณอาจโดนหลอกเอาอะไหล่ปลอมใส่เข้ามาโดยที่ไม่รู้ตัวจนส่งผลเสียต่อรถ ในระยะยาวก็เป็นได้ สำหรับเจ้าของรถจะเลือกวิธีเคลมแบบไหนก็ต้องพิจารณาให้เหมาะกับการใช้งานรถ ยนต์ของตัวเองเป็นหลัก ทั้งในด้านความเสี่ยงต่างๆ ลักษณะการขับขี่ ราคาของรถ รวมทั้งจำนวนห้างหรือศูนย์ที่มีด้วยเช่นกัน
 
           สำหรับวิธีการที่จะช่วยให้เราได้รับส่วนลดจากเบี้ยประกันในแต่ละปีก็คือการ ขับรถโดยไม่ประมาท ระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุใดๆ ซึ่งจะทำให้รถยนต์ของเราไม่มีประวัติขอเคลมประกันในกรณีที่เป็นฝ่ายผิด จึงสามารถช่วยลดเบี้ยค่าประกันรถยนต์ในปีถัดไปได้ ควรจำไว้ว่าประวัติของเราจะถูกบันทึกโดยเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง หากในปีหนึ่งเราเจอหน้าเจ้าหน้าที่เคลมประกันบ่อยๆ และยิ่งเป็นฝ่ายไปชนใครหลายครั้งเข้าก็เป็นไปได้ว่าในปีถัดไปเราอาจถูก ปฏิเสธจากบริษัทไม่รับทำประกันต่อ ส่วนประวัติเหล่านั้นก็จะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ศูนย์กลางข้อมูลที่บริษัทอื่น สามารถเรียกมาดูได้ เมื่อเราไปขอทำประกัน บริษัทเหล่านั้นก็อาจเลือกปฎิเสธหรือเพิ่มค่าประกันให้สูงขึ้นกว่าที่ควรจะ เป็น นอกจากนี้กรณีที่รถยนต์เกิดความเสียหายไม่มาก เราอาจยอมเสียเงินจำนวนนั้นเพื่อช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันที่จะลดลงได้ มากกว่าในปีถัดมา โดยลองสำรวจได้จากตัวเลข No Claim Bonus ของประกันที่เราถือ ซึ่งเป็นส่วนลดหากไม่มีประวัติขอเคลมดูนั่นเอง